เคล็ดลับยกระดับธุรกิจสู่ Industry 4.0 ลงทุนอย่างไรให้พร้อมสู่อนาคต

ธุรกิจอุตสาหกรรมนั้นมีวิวัฒนาการมาตามลำดับจนในปัจจุบันก็ก้าวเข้ามาสู่ยุค Industry 4.0 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตรายใหญ่ระดับโลกต่างพากันยกระดับธุรกิจไปสู่การเป็น Smart Manufacturing เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในโลกยุคดิจิทัล นั่นเท่ากับเป็นการใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นกลยุทธ์ใหม่การดำเนินธุรกิจ และสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมของตนเอง

สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยเรานั้น มีจำนวนหนึ่งได้ยกระดับตนเองก้าวไปสู่การเป็น Smart Manufacturing เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ต้องบอกว่าภาพรวมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยยังอยู่ในแนวทางการผลิตแบบ Industry 3.0 อยู่ และแน่นอนว่าผู้ประกอบการเหล่านั้นต่างมีความต้องการยกระดับธุรกิจการผลิตของตนเองไปสู่การผลิตแบบ Industry 4.0 เช่นกัน เพียงแต่ยังขาดเคล็ดลับในการเลือกลงทุนในเทคโนโลยีด้านไอทีที่เหมาะสมเท่านั้น ดังนั้น ลองมาดูว่าเคล็ดลับที่ช่วยยกระดับธุรกิจสู่ความเป็น Industry 4.0 จะมีอะไรบ้าง

เราอยู่ตรงไหนของ Industrial Revolution

ก่อนที่จะเริ่มก้าว สิ่งที่ควรทำก่อนเลยก็คือ สำรวจตนเองก่อนว่าเรากำลังยืนอยู่ตรงจุดไหนของยุคสมัยแห่งความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมมีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมเพื่อนำไปสู่กระบวนการผลิตที่ดีกว่าและทันสมัยกว่า สามารถผลิตแล้วทันต่อความต้องการของผู้คนในสังคมโลกได้มากกว่า โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ ๆ เกิดขึ้นมาแล้วด้วยกัน 4 ครั้ง โดยแบ่งเป็น

  • Industry 1.0 เริ่มต้นที่อังกฤษราวปี ค.ศ. 1760 เป็นการเปลี่ยนแปลงจากวิถีการผลิตด้วยแรงงานคนและสัตว์ไปเป็นเครื่องจักรไอน้ำ
  • Industry 2.0 การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1871 เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานที่ใช้สำหรับการผลิต จากพลังงานถ่านหินมาเป็นพลังงานไฟฟ้า รวมถึงมีการใช้และน้ำมันและก๊าซร่วมด้วย นั่นนำมาสู่ระบบสายพานในระบบการผลิตของอุตสาหกรรม และทำให้เกิดการผลิตสินค้าแบบ Mass Production ขึ้น
  • Industry 3.0 การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นในช่วงปี ค.ศ. 1969 เป็นยุคของ “เทคโนโลยีไอที” ระบบการผลิตถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และมีการเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูล มีการส่งผ่านข้อมูลการผลิตผ่านอินเทอร์เน็ตและมีการควบคุมเครื่องจักรการผลิตต่าง ๆ จากระยะไกล ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 นี้
  • Industry 4.0 เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา อาจนิยามได้ว่าเป็นยุคของ IIoT (Industrial IoT) เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการผลิตทั้งระบบเป็นแบบ “Exponential Growth” ทั้งเรื่องของความเร็วและขอบเขตของการผลิตที่กว้างมากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนในการผลิตลดลง

เคล็ดลับการเลือกลงทุนเพื่อก้าวไปสู่ Industry 4.0

เมื่อพิจารณาจากจุดที่ยืนอยู่ ก็จะเห็นว่าการจะเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ก้าวไปสู่ Industry 4.0 นั้นมีจุดที่ต้องคิดและพิจารณามากมาย จะเลือกลงทุนจากจุดไหนดีที่จะทำให้ธุรกิจยกระดับไปอีกขั้น เกิดความคุ้มค่าพร้อมสู่อนาคต มีคำแนะนำดังนี้

              1.ลงทุนใน 5G Infrastructure for Industry 4.0

              การจะก้าวไปสู่ Industry 4.0 จำเป็นอย่างมากที่จะต้องอาศัยพลังของเทคโนโลยี 5G ที่ไม่เพียงจะมีขีดความสามารถที่ดีในแง่ความเร็วของการอัปโหลดและดาวน์โหลดข้อมูลเท่านั้น แต่ยังสามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายจำนวนมาก สำคัญต่อการเชื่อมต่อเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่จะกลายเป็นหัวใจสำคัญของหุ่นยนต์การผลิตในอุตสาหกรรมอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทำให้ระบบการผลิตทุกส่วนสามารถสื่อสารกันเองและตอบสนองกันได้อย่างรวดเร็วด้วย

              แต่ทั้งนี้การจะให้เทคโนโลยี 5G สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและเต็มประสิทธิภาพ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้รองรับและสนับสนุนระบบ 5G ด้วย ตรงนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการลงทุนเพื่อที่จะนำไปสู่ความสามารถของการประกอบการที่สูงขึ้นตามแนวทางของ Industry 4.0

              2.ลงทุนใน Data Center Managed Services

              การบริหารจัดการระบบต่าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นอีกจุดที่มองข้ามไม่ได้เลย เพราะต่อให้องค์กรจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและดีเพียงใด แต่ไม่สามารถจะบริหารจัดการได้อย่างถูกต้อง หรือเกิดปัญหากับระบบขึ้นมา บุคลากรที่มีไม่สามารถที่จะจัดการกับปัญหาได้อย่างทันท่วงที เทคโนโลยีที่มีก็คงจะไม่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้เลย และอาจส่งผลกระทบทำให้ระบบการผลิต หรือระบบงานภายในทั้งหมดต้องหยุดชะงักเลยทีเดียว

              ดังนั้น การลงทุนในบริการ Data Center Managed Services จากบริษัทที่เชี่ยวชาญ จึงเป็นอีกเคล็ดลับหนึ่งที่จะนำธุรกิจอุตสาหกรรมไปสู่ Industry 4.0 อย่างมั่นคง เพราะผู้เชี่ยวชาญจะรู้ว่าแต่ละสายการผลิตนั้นจะมีความต้องการในการใช้เทคโนโลยีอะไรบ้าง เทคโนโลยีไอทีใดที่เหมาะสมกับสายการผลิตนั้น ๆ จะทำอย่างไรให้ระบบ 5G สามารถเสริมประสิทธิภาพการผลิตได้ดีขึ้น รวมไปถึงสามารถวางแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ได้อย่างครบวงจร การลงทุนตรงนี้จึงถือว่าคุ้มค่าอย่างมาก

              3.ลงทุนในระบบ Network

              เมื่อ Industry 4.0 เป็นยุคของ IIoT ระบบทุกอย่างต้องสามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ความหน่วง (Latency) ต้องน้อย การตอบสนองที่แม่นยำต้องมาก เพื่อให้หุ่นยนต์การผลิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการทำงานเบื้องหลังอย่างการตัดสินใจทางธุรกิจแบบ Data-Driven เพื่อการเพิ่ม-ลดการผลิตให้ทันต่อสถานการณ์ การวิเคราะห์และประมวลผลที่ต่อเนื่องแม่นยำและรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน

การวางโซลูชันระบบ Network ให้สามารถทำงานร่วมกันกับระบบ 5G ได้นั้นจึงเป็นอีกเคล็ดลับหนึ่งที่สำคัญ โดยโซลูชันที่จะสามารถเข้ามาอยู่ตรงกลางเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหุ่นยนต์การผลิตกับระบบไอทีที่อยู่เบื้องหลัง อย่างระบบฐานข้อมูลและแอปพลิเคชันได้เป็นอย่างดีก็คือ Multiple-access Edge Computing (MEC) หากองค์กรลงทุนในโซลูชันนี้เพื่อให้เกิดการสนับสนุนระบบการทำงานบนเครือข่าย 5G องค์กรก็จะได้มาซึ่งระบบ Network ที่ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้การก้าวไปสู่ Industry 4.0 ใกล้กับความเป็นจริงมากขึ้นไปอีกระดับ

เคล็ดลับการเลือกลงทุนเพื่อยกระดับธุรกิจไปสู่ความเป็น Industry 4.0 ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นไปได้ก็ควรจะเลือกหมดทั้ง 3 ข้อ แต่หากว่าองค์กรใดยังขาดปัจจัยความพร้อมไปในบางส่วน หรือองค์กรได้มีการขยับปรับเปลี่ยนไปในบางจุดแล้ว ก็อาจจะเลือกลงทุนเพียงบางข้อก็ได้ เมื่อพร้อมก็ค่อย ๆ ขยับไปทีละขั้นก็ได้เช่นกัน

หากต้องการยกระดับธุรกิจองค์กรของท่านไปสู่ความเป็น Industry 4.0 เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน วันนี้ท่านสามารถเข้ามาคุยกับ AIS  Business เพื่อสร้างโอกาสในการปฎิรูปองค์กรธุรกิจของท่าน ด้วย 5G Platforms & Solutions ที่ตอบโจทย์การทำ Digital Transformation  ด้วยความพร้อมของ AIS Business ร่วมกับ Partner ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้การสนับสนุน และส่งมอบบริการหรือโซลูชันที่ดีที่สุดให้กับองค์กรของท่าน ด้วยทีมงานมากประสบการณ์ที่มั่นใจได้ เพื่อให้ธุรกิจอุตสาหกรรมของคุณสู่ความเป็น 4.0 ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม 5G Smart Manufacturing Solutions คลิก https://business.ais.co.th/5g/SmartManufacturing/

Reference

  1. บันทึกการลงทุน.การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4: เทคโนโลยีพลิกโลก. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.finnomena.com/nuthjira/the-fourth-industrial-revolution/
  2. Factomart. IIoT vs Industrial 4.0 เกี่ยวข้องกันอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://mall.factomart.com/how-are-iiot-vs-industrial-4-0-related/
  3. Juniper. What is multi-access edge computing. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.juniper.net/us/en/research-topics/what-is-multi-access-edge-computing.html
  4. Ofir Zemer. 5G: Moving Industry 4.0 To the Next Level. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.forbes.com/sites/forbestechcouncil/2021/12/01/5g-moving-industry-40-to-the-next-level/?sh=67adf6cb2801
  5. Omri Wallach. Industry 4.0: What Manufacturing Looks Like in the Digital Era. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.visualcapitalist.com/industry-4-0-what-manufacturing-looks-like-in-the-digital-era/
  6. Sergio Bea. 5G in manufacturing: Welcome to Industry 4.0. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.the5gexchange.com/author.asp?section_id=743&doc_id=772404

วันที่เผยแพร่ 21 เมษายน 2565

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที