AIS 5G Business is NOW: ตรวจเช็คความพร้อม 5G ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

5G กำลังจะเชื่อมต่อผู้คนและระบบดิจิทัลจำนวนมากเข้าหากัน เชื่อหรือไม่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ 5G จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต การทำงาน และดำเนินงานในอุตสาหกรรมต่างๆ ไปตลอดกาล โดยที่งานสัมมนา ‘AIS 5G Business is NOW’ ได้เปิดมุมมองของการใช้ 5G เพื่อธุรกิจ มาดูกันครับว่า สถานการณ์ของ 5G ในภาคอุตสาหกรรมของไทยมีความคืบหน้าเป็นอย่างไร พร้อมกับตรวจสอบความพร้อมของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกันด้วยว่าโครงการ 5G ไปถึงไหนกันบ้างแล้ว กับภูมิภาคที่เป็นฐานการเติบโตใหม่ของเศรษฐกิจโลก 

Mr. Navachai Kiartkorkuaa, Head of Enterprise Marketing and SME Business Management Section – AIS

“AIS มีความยินดีที่จะประกาศว่า 5G พร้อมแล้วสำหรับการใช้ในประเทศไทย และอุตสาหกรรมไทย” — นี่คือเสียงแห่งความมั่นใจจาก AIS ผู้ให้บริการอันดับหนึ่งในบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและโครงข่ายมือถือของประเทศ ในช่วงหลายปีมานี้ AIS ได้พยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะลงทุนให้โครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้บริการ 5G เช่น ประมูลคลื่นความถี่ ขยายพื้นที่ 5G ให้ครอบคลุมในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มรองรับการเชื่อมต่อกับ 5G อย่างไรก็ดีสิ่งเหล่านี้คงเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากความร่วมมือของทุกฝ่าย โดยเฉพาะความไว้วางใจจากภาคอุตสาหกรรมและผู้พัฒนานวัตกรรม มาติดตามกันครับว่า นอกจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ในเรื่องของความร่วมมือระหว่าง AIS และพันธมิตรเพื่อสร้าง 5G Ecosystem ในประเทศไทย มีความก้าวหน้าเป็นอย่างไร

บทบาทของ AIS ในโครงการ Digital Valley

โครงการ Digital Valley คือความพยายามในการลงทุนของภาครัฐเพื่อสร้างสถานที่สำหรับพัฒนานวัตกรรม นำไปสู่โอกาสทางเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย โดยขับเคลื่อนนโยบายผ่านมาทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ depa ทั้งนี้กล่าวคือเป็นพื้นที่หนึ่งที่รวบรวมสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อส่งเสริมให้เกิดชุมชนของกลุ่มผู้สนใจทางเทคโนโลยีในประเทศไทย โดย Digital Valley มีพื้นที่สำคัญดังนี้

Asst. Prof. Dr.Nuttapon Nimmanphatcharin, President/CEO – DEPA

  • TVD1 – อาคารสำหรับติดต่อเรื่องในการจัดตั้งธุรกิจใหม่ ซึ่งแต่เดิมการขอจัดตั้งธุรกิจนั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน แต่ในอาคาร TDV1 (ตามภาพประกอบ) จะมีการรวบรวมผู้เกี่ยวข้องสำหรับการจัดตั้งธุรกิจไว้แบบ ‘One Stop Service’ รวมถึงบริการเกี่ยวกับ VISA สำหรับผู้เชี่ยวชาญหรือนักลงทุนต่างชาติ
  • TVD2 – อาคารสำหรับให้บริการบริษัท Startup เข้ามาใช้ชีวิตการทำงาน โดยภายในยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งเสริมในการใช้ชีวิต เช่น อาหาร และฟิตเนส ตอบโจทย์ ‘Work Learn Live’ ที่สำคัญคือเมื่อมีศูนย์แห่ง Community แล้วก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และอาจจะมีผลงานที่เกิดขึ้นร่วมกันได้ตามมา สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม
  • TVD3 – อาคารสำหรับทดลองนวัตกรรมด้าน ‘Deep Tech’ หรือ AI, EV, 5G, Cloud และ IoT เพราะเรื่องนวัตกรรมจำเป็นที่ต้องมีศูนย์สำหรับทดสอบว่าไอเดียนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริง 

จะเห็นได้ว่า Digital Valley คือพื้นที่สำหรับรวบรวมผู้สนใจในนวัตกรรมจากทั่วโลกมาไว้ในประเทศของเรา บริษัทสตาร์ทอัปก็มีโอกาสเข้าถึงผู้ลงทุนได้ง่ายขึ้น เข้าถึงเทคโนโลยีวิทยาการที่ล้ำสมัยที่มาพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการสร้างแรงดึงดูดนี้นอกจากเรื่องพื้นที่เพื่อสร้างแหล่งพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ ทดลองแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องการจัดตั้งบริษัท การจัดการ VISA และยังมีผลประโยชน์ที่สามารถใช้เพื่อสิทธิพิเศษทางภาษีได้อีกด้วย 

โดย depa เองได้เล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่จะต้องก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีเสมอมา จึงมีความตั้งใจผลักดันให้ธุรกิจได้เข้าใจและใช้ประโยช์จากโครงสร้างพื้นฐานของ Cloud และข้อมูลที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้เองที่ Digital Valley แห่งนี้จึงมีความร่วมมือระหว่าง AIS และ depa ในการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม 5G ให้ธุรกิจที่สนใจสามารถเข้าไปทดลองโซลูชันของตนบน 5G ได้เพื่อพิสูจน์ว่า เมื่อ 5G เกิดขึ้นในวงกว้างแล้ว โซลูชันดังกล่าวจะทำงานได้จริง 

นอกจากนี้แล้ว AIS ก็ยังมีความร่วมมือกับ สวทช. ภายใต้โครงการ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ Sustainable Manufacturing Center (SMC) ที่วังจันทร์วัลเล่ย์ โดยช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมที่สนใจสามารถเข้ามาทดลองแพลตฟอร์ม IDA (Industrial IoT & Data Analytics Platform) ที่อยู่บนการส่งข้อมูลผ่าน AIS 5G ทั้งนี้เนื่องจากมีผลสำรรวจมาแล้วว่า 5G มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและแสดงศักยภาพได้ชัดเจนต่อภาคอุตสาหกรรมในหลายด้านคือ ปรับปรุงกระบวนการทำงานและการผลิต เป็นสื่อกลางนำข้อมูลมาประมวลผล เชื่อมต่อผู้เกี่ยวข้องจากฝ่ายต่างๆ เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน และ 5G ยังเป็นโครงสร้างสำคัญให้ระบบจัดการพลังงานและดูแลสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้เองเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ ECC จึงเป็นพื้นที่นำร่องที่ AIS ได้นำ 5G เข้ามาเปิดโอกาสให้แก่โรงงานและภาคอุตสาหกรรม

บทบาทของ AIS ในการนำ 5G ไปใช้ในนิคมอุตสาหกรรม

นิคมอุตสาหกรรมกว่า 65 แห่งใน 16 จังหวัดของประเทศไทยจะถูกบริหารจัดการภายใต้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งก็คือ ‘การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)’ ไอเดียก็คือเป็นผู้กำกับดูแลพื้นที่ของโรงงานต่างๆในประเทศไทย โดยนโยบายและแนวทางปัจจุบันของ กนอ. ก็คือการสร้างสังคมที่โรงงานและชาวบ้านจะอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ที่หมายถึงความสามารถในการบริหารจัดการมลภาวะสิ่งแวดล้อม ลดความขัดแย้งระหว่างโรงงานและชุมชนโดยรอบ ทั้งนี้กนอ.ได้เผยถึงหลักการพื้นฐาน 5 ด้านที่วางเอาไว้คือ

  • Physical – สร้างพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 10% ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม รวมถึงต้องมีบ่อบำบัดนำเสียทำเป็นมาตรฐาน
  • Economic – สร้างการจ้างงานในชุมชน
  • Environmental – ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มลพิษทางน้ำและอากาศ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยต้นทุนต่ำ
  • Social – ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตของพนักงานและชุมชนโดยรอบ
  • Management – สามารถให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการ และเปิดให้คนนอกสามารถเข้ามาตรวจสอบโรงงานได้

Mr.Veeris Ammarapala, Governor – Industrial Estate Authority of Thailand

ทั้งนี้ กนอ. ยังได้ตั้งเป้าไปไกลกว่านั้นในการนำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมใน 8 ด้านตามรูปภาพประกอบ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้เองจะขับเคลื่อนอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานของ 5G ยกตัวอย่างเช่น การนำ IoT มาสังเกตการณ์การปล่อยนำเสียและวัดระดับน้ำ วัดคุณภาพของแดดบนแผงโซล่าเซลล์หรือติดตามการชำรุดของแผง นอกจากในมุมของการจัดการแล้ว กนอ. ยังเชื่อว่าในอนาคตอาจจะได้เห็นระบบ Virtual ของผังพื้นที่ เช่น ในอดีตหากอยากทราบว่ามีท่อใต้ดินต้องขุดสำรวจ แต่ในอนาคตเมื่อบันทึกบนระบบจำลองก็จะทราบได้ทันที หรือสามารถวัดพื้นที่เพื่อขายให้แก่นักลงทุนต่างชาติได้อย่างมั่นใจ แม้กระทั่งการใช้กล้องวงจรปิดเพื่อติดตามรถบรรทุกของแต่ละโรงงาน ทำให้ต่อไปแต่ละโรงงานอาจจะสามารถจ่ายค่าใช้งานพื้นที่ได้สมจริงมากขึ้นตามการใช้งาน

นอกจากความร่วมมือกับ กนอ. แล้ว ปัจจุบัน AIS มีความร่วมมือกับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ในการทดลองและส่งเสริมการใช้งาน 5G ในหลายกรณี เช่น นิคมอุตสาหกรรมอมตะ, WHA, สหพัฒน์, บางกระดี, โรจนะ, บางปูเหนือ,  HiTech และ ไทย บอนเนต เทรดดิ้ง โซนทั้งนี้เชื่อแน่ว่าในอนาคตอันใกล้ AIS 5G จะมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการบริหารจัดการหรือการดูแลพื้นที่ในนิคมเหล่านี้เพื่อให้เกิดการใช้งาน 5G ได้อย่างแน่นอน

บทบาทของ AIS ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค

GSMA เป็นหน่วยงานสมาคม ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโลก ที่ผ่านมาได้มีการจัดงานสัมมนาเพื่อเป็นเวทีสำหรับพบปะ ประกวดแข่งขันนวัตกรรมต่างๆ เพื่อจัดแสดงเทคโนโลยีที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้บริการ ทั้งนี้สำหรับเทคโนโลยี 5G ทาง GSMA คาดว่าในสิ้นปี 2021 5G จะมีการเชื่อมต่อเกิดขึ้นอยู่เพียง 8% เท่านั้น และจะเติมโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยภายในปี 2025 5G จะเป็นสื่อกลางสำหรับการเชื่อมต่อกว่า 24% นั่นหมายความว่าในอนาคต 5G จะนำพามาซึ่งโอกาสทางธุรกิจได้อีกมหาศาล 

สำหรับสถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคนั้นสมาชิกกว่าครึ่งหนึ่งมีความพร้อมที่จะให้บริการ 5G ซึ่งไทยเองเป็นหนึ่งในนั้น และความภาคภูมิใจก็คือ 5G ของเรานั้นมีความเร็วสูงกว่าประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้อาเซียนยังมีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่โตเร็วที่สุด ณ ขณะนี้ ดังนั้นคาดว่าอีก 10 ปีข้างหน้ามูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนจะสูงถึง 1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ นอกจากเรื่องโอกาสทางธุรกิจแล้ว 5G ยังเป็นโครงสร้างสำคัญในการสนับสนุนต่อเทคโนโลยีต่างๆ เช่น IoT, Advanced Robotics, AI และ AR/VR ที่จะเข้ามาช่วยยกระดับในภาคอุตสาหกรรม

Mr.Terence Wong, Head of APAC 5G Industry & IoT community – GSMA

GSMA เชื่อว่าในปี 2021 และ 2022 จะมีธุรกิจ 3 ส่วนที่ได้รับผลประโยชน์จาก 5G อย่างโดดเด่นคือ

  • Manufacturing – ระบบ Automation และ IoT มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จาก 5G อีกมาก เนื่องจาก 5G สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้มหาศาล มี Latency ตอบโจทย์สำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องการเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์ กล่าวได้ว่า 5G จะส่งผลต่อการยกระดับของวงการอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำจนถึงมือผู้บริโภค
  • Logistics – ภายในปี 2023 ระบบการขนส่งอัจฉริยะจะมีการเติบโตสูงขึ้นแตะ 24,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจะมี IoT เป็นเทคโนโลยีหัวใจสำคัญที่ช่วยให้การขนส่งอย่างชาญฉลาดมากขึ้น เช่น การขนส่งวัคซีน ยิ่งการนำ 5G ไปใช้ในสนามบินและท่าเรือต่างๆ คาดว่าจะมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจเกิดขึ้นอีกมาก
  • Healthcare – 5G จะสนับสนุนแอปพลิเคชันสำหรับการรักษา หรือสุขภาพที่มีความละเอียดอ่อน ด้วยความหน่วงต่ำของ 5G ทำให้การรักษาทางไกล แม้กระทั่งการผ่าตัดที่หมอและผู้ป่วยอยู่ห่างไกลกันอาจเกิดขึ้นได้จริง

AIS เชื่อในความสำคัญของการเติบโตไปพร้อมๆกันทั้งภูมิภาคและ การแบ่งปันกรณีศึกษาร่วมกันจะเป็นประโยชน์กับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ดังนั้นประยกต์ใช้กรณีศึกษาจากเพื่อนบ้าน หรือไทยอาจจะเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาให้ประเทศอื่นก็ล้วนแล้วแต่ช่วยขับเคลื่อนภูมิภาคนี้ให้โตขึ้นทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เอง AIS จึงเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในภาคีของ GSMA ด้วย

ไม่เพียงเท่านั้น AIS ยังได้มีความร่วมมือพิเศษกับ NTT Docomo ผู้ให้บริการจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งขึ้นชื่อว่ามีเทคโนโลยีล้ำสมัยในระบบเครือข่าย เพื่อนำองค์ความรู้มาผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ด้วยข้อมูลทั้งหมดนี้จึงกล่าวได้ว่า “5G พร้อมแล้วสำหรับประเทศไทย และ AIS พร้อมสนับสนุนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และภาคธุรกิจของไทย“

สุดท้ายนี้หากท่านใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ https://business.ais.co.th/5g/ ทันทีครับ

วันที่เผยแพร่ 7 มกราคม 2565

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business