Telco Cloud กับบทบาทการยกระดับนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมไทย

              หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Telco Cloud ซึ่งเทคโนโลยี Cloud สำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกันมาบ้างแล้ว แต่ในทุกวันนี้เมื่อเทคโนโลยี Cloud ได้มีวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว นิยามและขอบเขตความสามารถของ Telco Cloud เองก็ได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

              ในทุกวันนี้ Telco Cloud ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Cloud สำหรับธุรกิจโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว แต่กำลังก้าวสู่การเป็น Cloud Infrastructure สำคัญสำหรับภาคธุรกิจองค์กรในหลากหลายแง่มุม และในบทความนี้เราก็จะพาทุกท่านไปเจาะลึกกับนิยามและความสามารถของ Telco Cloud

Telco Cloud คืออะไร?

              แรกเริ่มเดิมทีนั้น Telco Cloud หมายถึง สถาปัตยกรรมระบบเครือข่ายแห่งอนาคตสำหรับธุรกิจโทรคมนาคม ที่จะต้องเปลี่ยนจากการใช้งานอุปกรณ์ในแบบ Appliance-based มาสู่การใช้เทคโนโลยี Virtualization, Container ร่วมกับ Software-Defined Networking (SDN), Virtual Network Function (VNF) และ Network Function Virtualization (NFV) เพื่อปรับสู่ความเป็น Cloud อย่างเต็มตัว เสริมความยืดหยุ่นในการให้บริการ, การบริหารจัดการ และการดูแลรักษาระบบโครงข่ายในภาพรวมให้กลายเป็นอัตโนมัติ ลดค่าใช้จ่ายของระบบโครงข่ายขนาดใหญ่ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ [1] [2]

              อย่างไรก็ดี เมื่อ Cloud ได้เข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจองค์กรอย่างรวดเร็ว เหล่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมในหลายประเทศทั่วโลกก็ได้เริ่มให้บริการ Cloud สำหรับภาคธุรกิจเพิ่มเติมเข้ามาด้วย รวมถึงยังมีการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการ Cloud รายใหญ่เพื่อนำบริการเหล่านั้นเข้ามาให้บริการแก่ลูกค้าของตนเองในแต่ละประเทศ พร้อมเสริมบริการ, ความสามารถและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ต่อยอดจากโครงข่ายที่ตนเองมีอยู่เดิม อย่างเช่นบริการ Internet และระบบสื่อสาร จนกลายเป็น Telco Cloud อีกหนึ่งรูปแบบ

              จนมาในปัจจุบันนี้ เมื่อ Edge Computing กำลังกลายเป็นวาระสำคัญที่จะทำให้ภาคธุรกิจองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมในรูปแบบใหม่ได้ และสามารถปรับนำ 5G มาใช้เสริมศักยภาพของธุรกิจได้อย่างเต็มตัว Telco Cloud จึงได้มีการผสานรวมในส่วนของการให้บริการ Edge Computing เป็นส่วนหนึ่งของ Cloud ด้วยเช่นกัน

              วิสัยทัศน์ดังกล่าวนี้ถือเป็นแนวทางที่เหล่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลกต่างกำลังปรับตัวและมุ่งไป เพราะในแต่ละประเทศนั้น ผู้ให้บริการโทรคมนาคมนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความเข้มแข็ง มีระบบโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ พร้อมต่อยอดไปให้บริการ Cloud ได้ รวมถึงการมีเสาสัญญาณและจุดกระจายสัญญาณที่กระจายอยู่ทั่วประเทศนั้น ก็เอื้อต่อการให้บริการ Edge Computing ได้เป็นอย่างดี

              ทั้งหมดนี้จะทำให้เห็นได้ว่านิยามของ Telco Cloud นั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก จากเดิมที่เป็นศัพท์เฉพาะทางสำหรับวงการโทรคมนาคม มาสู่การให้บริการ Cloud ในรูปแบบหนึ่งซึ่งธุรกิจองค์กรสามารถจับต้องได้แล้ว

Telco Cloud จะทำให้เกิดนวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ อย่างไร?

              Telco Cloud นั้นจะกลายเป็นรากฐานสำคัญของบริการ Cloud ในรูปแบบใหม่ๆ สำหรับอนาคต ตัวอย่างเช่น

              1.Omnicloud Omnicloud คือแนวคิดของการใช้งาน Cloud ที่ผสานรวมทั้ง Public Cloud, Private Cloud, Edge Computing, Local Zone และ MEC โดยมี SD-WAN และ 5G เป็นเทคโนโลยีหลักในการเชื่อมต่อระบบทั้งหมดเหล่านี้เข้าด้วยกัน ทำให้ธุรกิจองค์กรมีอิสระในการเลือกใช้งาน Cloud Infrastructure ที่ต้องการให้เหมาะสมกับ Workload ได้อยู่เสมอ [3] [4]

              Telco Cloud จะสามารถเข้ามาช่วยเติมเต็มความต้องการในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะภายใน Telco Cloud เองนั้นมีทุกเทคโนโลยีที่จำเป็นเบื้องต้นสำหรับการก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ Omnicloud อยู่แล้ว เหลือเพียงแค่การเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ Cloud ภายนอกเท่านั้น ซึ่งผู้ให้บริการโทรคมนาคมหลายรายก็มีบริการส่วนนี้ด้วยแล้วเช่นกัน

              2. Industry Cloud Industry Cloud คือบริการ Cloud สำหรับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมักมีความสามารถในเชิงลึก และทำงานร่วมกับอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีเฉพาะในอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้

              Telco Cloud สามารถถูกนำไปใช้ต่อยอดเพื่อให้บริการ Industry Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความสามารถในส่วนของการรองรับ Edge Computing และ MEC ในตัวได้เป็นอย่างดี พร้อมบริการเสริมในส่วนของ 5G ทำให้ธุรกิจต่างๆ อย่างเช่น โรงงาน โรงพยาบาล หรือห้างสรรพสินค้า สามารถใช้ Industry Cloud ที่ทำงานอยู่บนทั้ง Public Cloud, Private Cloud, Edge และ MEC สำหรับรองรับระบบที่แตกต่างกัน โดยระบบที่มีขนาดใหญ่และมีความสามารถโดยทั่วไปนั้นอาจทำงานอยู่บน Public Cloud หรือ Private Cloud ในขณะที่ระบบที่ต้องทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT หรือต้องการรับส่งข้อมูลปริมาณมหาศาลเพื่อวิเคราะห์ตอบสนองอย่างรวดเร็วเช่น AI นั้นก็อาจถูกนำมาใช้งานอยู่บน Edge หรือ MEC แทน [5]

ธุรกิจองค์กรไทยจะใช้ประโยชน์จาก Telco Cloud ได้อย่างไรบ้าง?

              ธุรกิจองค์กรไทยนั้นจะได้รับประโยชน์จาก Telco Cloud อย่างเต็มที่ในฐานะของระบบ Cloud Infrastructure ใหม่ที่รองรับ Workload ได้หลากหลายยิ่งขึ้นกว่า Cloud ทั่วไป จากการที่ธุรกิจโทรคมนาคมไทยอย่างเช่น AIS Business มีโครงข่ายที่เชื่อมโยงทั่วประเทศไทยอยู่แล้ว ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ด้วย Telco Cloud ร่วมกับ 5G หรือการใช้งาน MEC แทนบริการ Cloud ในบางส่วน เป็นต้น

              นอกจากนี้ในการก้าวไปสู่ภาพของ Hybrid Multicloud หรือ Omnicloud การใช้งาน Telco Cloud ก็อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่มักจะมีทั้งบริการ Cloud ของตนเอง และการนำบริการ Cloud ชั้นนำจากทั่วโลกมาเปิดให้บริการในไทย ดังนั้นการใช้ Telco Cloud เป็นสะพานเชื่อมไปสู่ Cloud อื่นๆ พร้อมการใช้ Edge Computing, MEC และ 5G ร่วมกันไปเลยนั้น ก็อาจตอบโจทย์ของวิสัยทัศน์แห่งอนาคตได้อย่างครบถ้วน

AIS Cloud X - Cloud Platform อัจฉริยะเพื่อธุรกิจในยุคดิจิทัล

              ระบบนิเวศคลาวด์อัจฉริยะ (Intelligent Cloud Ecosystem) ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการคลาวด์ได้อย่างยืดหยุ่น รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบอย่างไร้รอยต่อ (Flexible Cloud Deployment) ผสานการทำงานกับเครือข่าย 5G, Edge Computing, Multi-Cloud พร้อมแพลตฟอร์ม Cloud Native ที่จะรองรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน ภายใต้แนวคิดการเขียนโค้ดอย่างรวดเร็วตามกฏความปลอดภัย (DevSecOps) และคอนเทนเนอร์ (Container) พร้อมบริการที่ช่วยจัดการข้อมูล ทั้งการจัดเก็บ การประมวลผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อป้องกันด้านความปลอดภัย และการใช้งานข้อมูลเพื่อธุรกิจ (Data Driven Business) ตลอดจนระบบสำรองกู้คืนข้อมูลที่รองรับระบบคลาวด์ที่กระจายตัว (Hybrid Cloud Environment) และข้อมูลแอปพลิเคชันที่อยู่ในรูปแบบ Cloud Native หรือ Container รวมถึงการทำงานร่วมกับ VMware ในการเป็นพาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการ Sovereign Cloud รายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการเก็บข้อมูลในประเทศ

              ภายใน AIS Cloud X จะมี Solutions ที่เปิดให้บริการแล้วดังนี้

  • VMware Container as a Service: ให้บริการ VMWare Tanzu เพื่อใช้ Kubernetes สำหรับรองรับ Container และ Opsta Opstella สำหรับให้บริการ DevSecOps เพื่อการพัฒนา Application อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ
  • Microsoft Azure Arc: ตอบโจทย์การทำ Hybrid Multi-Cloud เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถใช้ Service ของ Azure ได้บน Local Cloud ภายในประเทศไทยได้ทันที สะดวก รวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Veeam: บริการ Backup & Recovery ที่รองรับการสำรองข้อมูลได้จากหลายแพลตฟอร์ม และหลายสถานที่ไม่ว่าจะเป็น Local หรือ Multi-Cloud รวมถึงยังรองรับการ Backup ระบบ Kubernetes ได้อีกด้วย

วันที่เผยแพร่ 8 ธันวาคม 2565

Reference

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที