5 แนวทางการเริ่มต้นนำ Metaverse มาใช้ตอบโจทย์ทางธุรกิจสำหรับองค์กรไทย

              Metaverse ได้กลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกจับตามองโดยเหล่าธุรกิจองค์กรทั่วโลกเป็นอย่างมากในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน หลังจากที่ Facebook ได้ออกมาประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta และเผยวิสัยทัศน์ว่า Metaverse นั้นจะเป็นอนาคตของโลกออนไลน์ ทำให้ธุรกิจทั่วโลกต่างรีบคว้าโอกาสในโลก Metaverse กันอย่างรวดเร็วด้วยการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งในส่วนของ AR/VR, 3D, Web 3.0 และ Blockchain กันออกมาอย่างต่อเนื่อง

              จากข้อมูลของ Statista [1] ระบุว่าในการสำรวจบนโลกออนไลน์ พบว่าผู้คนสนใจที่จะเข้าร่วมใน Metaverse ด้วยหลากหลายเหตุผล โดยคำตอบที่ได้รับการเลือกมากที่สุดนั้นก็คือ การก้าวข้ามอุปสรรคที่ต้องเผชิญในชีวิตจริงอย่างเช่นความพิการ (39%), การเปิดโอกาสสู่การสร้างสรรค์และจินตนาการรูปแบบใหม่ๆ (37%), การท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดินทาง (37%), การสร้างทักษะทางด้านเทคโนโลยีและเรียนรู้สิ่งต่างๆ (34%) และการสร้างโอกาสใหม่ๆ ในด้านอาชีพและการทำงาน (30%)

              แต่ท่ามกลางกระแสที่กำลังร้อนแรงอยู่นี้ ธุรกิจองค์กรไทยจะนำ Metaverse มาใช้งานได้อย่างไรบ้าง? ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับแนวทางที่เป็นไปได้ในการนำ Metaverse มาประยุกต์ใช้งานกันดังนี้ครับ

1. การประชุมงานและฝึกอบรมด้วยประสบการณ์ที่สมจริงด้วยเทคโนโลยี 3D

              การประชุมงานบนโลกออนไลน์ได้กลายเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของผู้คนทั่วโลกไปแล้ว และแน่นอนว่าการมาของ Metaverse เองก็จะช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในการประชุมงานบนโลกออนไลน์ด้วยเช่นกัน

              ตัวอย่างหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นและน่าจะเข้าถึงใช้งานได้กันอย่างกว้างขวางนั้น ก็คือ Cisco WebEx Hologram [2] หนึ่งในนวัตกรรมใหม่จาก Cisco ที่จะช่วยให้ผู้เข้าประชุมในระบบ Cisco WebEx สามารถสวมใส่แว่นตา AR/VR เพื่อนำข้อมูลหรือ Software ต่างๆ มานำเสนอในประสบการณ์แบบ Augmented Reality หรือ AR ให้มีปุ่มสัมผัสบนอากาศเพื่อทำสิ่งต่างๆ ที่ต้องการ หรือนำโมเดล 3D ของงานวิศวกรรมและการออกแบบออกมาแสดงบนอากาศและมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุเสมือนเหล่านี้ เพื่อใช้ในการประชุมได้

              ไม่เพียงแต่การใช้ในงานด้านการประชุมเท่านั้น แต่เทคโนโลยีในลักษณะนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมได้อีกอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมด้านการดูแลรักษาเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีราคาสูง, การฝึกอบรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อให้มีประสบการณ์เสมือนในการทำงานกับส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ ไปจนถึงการฝึกอบรมทางการทหารเพื่อจำลองสถานการณ์ที่ต้องมีการตัดสินใจอย่างแม่นยำ ซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการฝึกอบรมลงไปได้อย่างมหาศาล อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพในการสื่อสารให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นด้วยประสบการณ์รูปแบบใหม่ได้อีกด้วย [3]

2. การสาธิตผลิตภัณฑ์, บริการ และการจัดงานสัมมนาบนโลกเสมือน

              การมาของ Metaverse นั้นไม่เพียงแต่จะประจวบเหมาะกับแนวโน้มทั่วโลกที่กำลังเปลี่ยนผ่านรูปแบบการทำงานไปสู่ยุค Hybrid Work ที่ทำให้การสื่อสารติดต่อด้านธุรกิจเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นมาท่ามกลางความต้องการในการรับประสบการณ์แบบใหม่ในโลกดิจิทัลด้วยเช่นกัน

              ทุกวันนี้เราได้เริ่มเห็นแบรนด์ดังจำนวนมากทั้งในกลุ่มสินค้า Luxury ไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ที่กำลังก้าวเข้าสู่โลกของ Metaverse เพื่อตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งของแบรนด์ และสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจในการนำเสนอสินค้าในรูปแบบดิจิทัลกันมากขึ้น โดยนอกเหนือจากกรณีของการสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์ของแบรนด์เองแล้ว ก็ยังมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากมาย

              ตัวอย่างหนึ่งก็คือ Sephora [4] ที่ได้มีการเปิดตัวน้ำหอมกลิ่นใหม่บนโลกออนไลน์ โดยถึงแม้ปัจจุบันเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ที่ถูกใช้ในแคมเปญนี้จะยังไม่สามารถถ่ายทอดกลิ่นมายังโลกจริงได้ในปัจจุบัน แต่ Sephora ก็ได้ร่วมมือกับนักวิจัย ทำการคิดค้นวิธีการที่จะทำให้ผู้ชมเนื้อหานั้นสามารถจินตนาการถึงกลิ่นได้ผ่านทางการใช้สี, ภาพเคลื่อนไหว และกราฟฟิกที่นำเสนอ ทำให้สามารถส่งมอบประสบการณ์การรับรู้กลิ่นใหม่ของแบรนด์ไปยังผู้ชมที่รับชมเนื้อหา AR นี้ผ่านทาง Instagram ได้ เป็นต้น

              แน่นอนว่าหากมองเฉพาะตัวเทคโนโลยี AR/VR ในทุกวันนี้เราอาจยังมองไม่เห็นภาพมากนักว่าแบรนด์จะสามารถส่งมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้าของตนเองผ่านโลก Metaverse ได้อย่างไร แต่กรณีของ Sephora นี้ก็ถือเป็นหนึ่งในคำตอบว่า แบรนด์อาจจะต้องมีการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ บนโลก Metaverse ขึ้นมาเพื่อส่งมอบประสบการณ์ของผลิตภัณฑ์, บริการ หรืองานสัมมนาที่มีความเฉพาะตัวสำหรับแต่ละแบรนด์นี้ด้วยตนเอง

              นอกจากนี้ก็ยังมีตัวอย่างของ Spatial ผู้พัฒนาระบบประชุมในโลก Metaverse ที่ได้ผสานนำเอา NFT มารวมด้วย เพื่อให้การเลือกใช้วัตถุหรือสถานที่ต่างๆ นั้นเป็นไปได้ตามต้องการ โดยมีการจัดซื้อรูปแบบและการออกแบบของพื้นที่จัดประชุมได้นั่นเอง

              อย่างไรก็ดี การเข้าถึงโลกของ Metaverse นั้นก็ยังคงต้องอาศัยอุปกรณ์อย่าง VR Headset อยู่ และ 5G ก็จะเป็นเทคโนโลยีสำคัญในฐานะของระบบโครงข่ายความเร็วสูงที่สามารถเชื่อมต่อโลก Metaverse เข้ากับผู้ใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลา

3. ออฟฟิศสำหรับทำงาน พร้อมสร้างช่องทางโฆษณาสินค้าและบริการบนโลกเสมือน

              อีกหนึ่งประเด็นที่มีการหยิบยกมาพูดคุยเกี่ยวกับ Metaverse กันมากนั้นก็คือที่ดินบนโลกเสมือน ที่ต้องมีการซื้อหรือจับจองเป็นมูลค่าไม่น้อยบน Platform ที่มีชื่อเสียง ทำให้ธุรกิจองค์กรนั้นมีทางเลือกในการเปิดออฟฟิศหรือสาขาของธุรกิจบนโลกเสมือนได้ ทั้งด้วยการซื้อพื้นที่บน Platform ต่างๆ มาพัฒนาต่อยอดใช้ในการพบปะพูดคุยหรือนำเสนอโครงการต่างๆ แก่ลูกค้า หรือสามารถสร้าง Metaverse ใหม่ของตนเองที่มีคุณสมบัติหรือวิธีการส่งมอบประสบการณ์เฉพาะตัวก็ได้เช่นกัน

              นอกจากนี้ด้วยความที่ Metaverse นั้นจะกลายเป็นพื้นที่ใหม่ที่ผู้คนเริ่มเข้าไปทำกิจกรรมต่างๆ หรือใช้ชีวิตในแง่มุมที่ตนเองต้องการ โอกาสใหม่ๆ ในโลกของการโฆษณาจึงเกิดขึ้นได้อย่างไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการตั้งป้ายโฆษณาเสมือน, การสร้างอาคารเสมือน, การนำสินค้าเสมือนไปใช้ หรือแม้กระทั่งการทำ Avatar หรือ Skin ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ก็ล้วนเป็นไปได้ทั้งสิ้น

              ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงแล้วในไทยนั้นก็อย่างเช่นกรณีของ AIS [6] ที่มีการเปิดให้บริการ V-Avenue ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าเสมือนบนโลกดิจิทัล ที่มีพื้นที่ให้แบรนด์ต่างๆ ได้ทำการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของตนเอง และเชื่อมต่อไปยังบริการดิจิทัลอื่นๆ รวมถึงยังมี Metaverse Human อย่าง ไอ - ไอรีน ที่จะมาทำหน้าที่เป็น Brand Ambassador ให้กับ AIS บน Metaverse อีกด้วย

4. ช่องทางสำหรับสื่อสารและเข้าถึงลูกค้าในกลุ่มใหม่

              สำหรับธุรกิจองค์กรหลายแห่งโดยเฉพาะธุรกิจ B2B เองนั้นก็อาจมีคำถามว่าลูกค้าของตนเองจะอยู่ใน Metaverse มากน้อยเพียงใด? และจะคุ้มค่าไหมสำหรับการก้าวสู่โลกของ Metaverse?

              แน่นอนว่าในช่วงแรกๆ นั้น Metaverse ย่อมเป็นที่ดึงดูดต่อผู้คนรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีเป็นหลัก ดังนั้นมุมมองที่ถูกต้องของธุรกิจในระยะแรกนี้จึงควรจะเป็นการมองโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ซึ่งนับวันคนรุ่นใหม่จะยิ่งทำธุรกิจกันรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ Metaverse กลายเป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้นั่นเองในมุมของธุรกิจ B2B

              ส่วนในระยะยาว Metaverse นั้นมีโอกาสที่จะเข้าสู่การเป็นเทคโนโลยีหลัก เหมือนที่สมัยก่อน Internet เองก็เคยได้รับแรงต้านจากกลุ่มผู้มีอายุ หรือแม้แต่ Social Network และ Chat ที่เราใช้ในทุกวันนี้ก็เคยผ่านสถานะดังกล่าวมาแล้วเหมือนกัน ดังนั้นท้ายที่สุดแล้ว หาก Metaverse ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ก็จะกลายเป็นช่องทางที่ทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงและใช้ติดต่อธุรกิจกันได้อย่างสากล

              ในขณะเดียวกัน Metaverse เองนั้นก็มีความแตกต่างจากการติดต่อสื่อสารในโลกจริง ในแง่ของการที่ผู้คนสามารถทำการพบปะพูดคุยหรือปรึกษาเชิงธุรกิจ และแสดงความเชี่ยวชาญของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลตัวตนกันแต่อย่างใด ซึ่งคุณลักษณะนี้ก็ถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าในอนาคตจะมีธุรกิจหรือบริการกลุ่มใดบ้างที่สามารถใช้ประโยชน์จากประเด็นดังกล่าวได้

5. ตั้งศูนย์ให้บริการลูกค้าบนโลกเสมือน ผสานเทคโนโลยี Web 3

              สุดท้ายคือกรณีของการให้บริการลูกค้าของแบรนด์ผ่านช่องทางบนโลก Metaverse ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสใหม่ที่เหนือกว่าช่องทางในปัจจุบันอย่างเช่นการ Chat เป็นอย่างมาก เพราะบนโลก Metaverse นั้นสามารถผสานรวมเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้งานร่วมกันได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบยิ่งกว่าเทคโนโลยีใดๆ ในปัจจุบัน

Web

              แน่นอนว่าการมาของ Metaverse ย่อมทำให้เทคโนโลยี Automation ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารหรือให้บริการอย่าง Chatbot นั้นต้องเปลี่ยนไปด้วย เพราะ AI ที่สามารถพูดคุยโต้ตอบได้เพียงอย่างเดียวนั้นจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป แต่ต้องรองรับการมีปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ ร่วมกับผู้ใช้งานได้ด้วย ทำให้ Chatbot ในอนาคตนั้นต้องวิวัฒนาการไปสู่ Digital Human และส่งมอบประสบการณ์การให้บริการที่ดีให้กับลูกค้าของแบรนด์ได้

              นอกจากนี้ การให้บริการในแบบ Field Service ด้วย Augmented Reality หรือ AR เองก็ดูจะกลายเป็น Business Application ที่เป็นจริงได้ง่ายมากยิ่งขึ้นจากการตื่นตัวทางด้าน Metaverse นี้เช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีธุรกิจองค์กรหลายแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มงานวิศวกรรมที่ได้นำนวัตกรรมดังกล่าวไปใช้ เพื่อให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องจักรเฉพาะทางจากทั่วทุกมุมโลก สามารถเข้าถึงสถานที่จริงหน้างานไม่ว่าจะเป็นในโรงงานหรือภายนอกอาคาร และตรวจสอบอุปกรณ์เหล่านั้นด้วยประสบการณ์เสมือนอยู่หน้างานด้วยตนเอง เพื่อให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในโลกแห่งความเป็นจริงได้

              ข้อมูลจาก Statista เคยมีการทำนายแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยีด้าน AR/VR ในอุตสาหกรรม Field Service [7] ว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2022 นี้ แต่ด้วยการมาของโรคระบาดเองก็อาจทำให้แนวโน้มดังกล่าวนี้เกิดขึ้นช้าลงไปบ้าง

              ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยี Web 3 อย่างเช่น Blockchain, NFT, Smart Contract และอื่นๆ ก็จะเข้ามามีบทบาทต่อการทำธุรกรรมและการทำ Automation บนโลก Metaverse เป็นอย่างมาก เพื่อให้ทุกๆ กิจกรรมที่มีความสำคัญซึ่งเกิดขึ้นบนโลก Metaverse นั้นมีความโปร่งใส ชัดเจน เป็นอัตโนมัติ และเป็นที่ยอมรับได้ในสากล

“5G” หัวใจสำคัญที่จะช่วยส่งมอบประสบการณ์ Metaverse สู่ผู้ใช้งาน

              การส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานผ่าน Metaverse นั้น ก็ย่อมต้องมีเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัยในการสนับสนุนการใช้งาน ซึ่ง AIS 5G ก็พร้อมที่จะเป็นระบบโครงข่ายไร้สายที่เชื่อมต่อทุกคนเข้าสู่โลกของ Metaverse ได้ด้วยเครือข่าย 5G ความเร็วสูง ทำให้การเข้าถึง Metaverse ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงเฉพาะภายในบ้านหรือที่ทำงานที่มี Internet ความเร็วสูงเท่านั้น แต่ธุรกิจต่างๆ จะสามารถส่งมอบประสบการณ์ในโลก Metaverse ไปยังผู้ใช้งานได้ในทุกที่ทุกเวลาอย่างแท้จริงด้วย AIS 5G ดังกลยุทธ์ 5 ประการทางด้าน 5G ที่ AIS ได้ประกาศเอาไว้ในปี 2022 ได้แก่

  1. เชื่อมต่อ 5G Ecosystem เพื่อการทำงานของภาคธุรกิจอย่างรอบด้าน
  2. ยกระดับการทำงานของโครงข่ายด้วย Intelligent Network
  3. มุ่งเสริมความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและแพลตฟอร์ม
  4. เสริมอาวุธด้านการตลาด และเพิ่มโอกาสการเติบโตด้วย Business Big Data
  5. ส่งมอบบริการด้วยทีมงานมืออาชีพ

              สำหรับธุรกิจองค์กรใดที่มีวิสัยทัศน์ทางด้าน Metaverse และต้องการเติมเต็มนวัตกรรมด้วยการเชื่อมต่อ 5G เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้งานในทั่วทุกมุมของประเทศไทย สามารถติดต่อทีมงาน AIS Business ในการพูดคุยถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในเชิงสถาปัตยกรรมของเทคโนโลยีและธุรกิจ พร้อมทดสอบการนำ 5G ไปใช้งานร่วมกับ Metaverse ได้ทันที

วันที่เผยแพร่ 14 กรกฎาคม 2565

Reference

  1. Leading benefits of the metaverse worldwide in 2021, https://www.statista.com/statistics/1285117/metaverse-benefits/
  2. Webex Hologram, https://projectworkplace.cisco.com/capabilities/hologram
  3. Using Augmented Reality For Hands-On Training, https://www.forbes.com/sites/forbesbusinesscouncil/2021/09/03/using-augmented-reality-for-hands-on-training/
  4. Why B2B marketers must attack the metaverse right now, https://www.thedrum.com/news/2022/01/21/why-b2b-marketers-must-attack-the-metaverse-right-now
  5. Spatial, https://spatial.io/
  6. ท่องโลก Metaverse กับ AIS 5G ล้ํากว่าทุกสเต็ป ทันทุกเทรนด์ดิจิทัล, https://www.ais.th/review/digital-update/5g-metaverse.html
  7. How augmented reality is redefining field service management, https://www.softwebsolutions.com/resources/augmented-reality-field-service-management.html

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที