ความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมในการใช้เทคโนโลยีคลาวด์

              ในภาคอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญที่คำนึงถึง จะเป็นเรื่องของ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ความยืดหยุ่น และคล่องตัว เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Technology) จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะเข้ามาตอบสนองความต้องการในยุควิกฤตทางเศรษฐกิจ อย่างเช่นในปัจจุบันนี้ สภาวะโรคระบาดจากเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไป และเริ่มสนใจเปลี่ยนมาใช้งานระบบคลาวด์มากขึ้น จากแนวคิดในการใช้งานเครื่องมือ หรือบริการที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นบนระบบคลาวด์ จะสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความสำคัญของเทคโนโลยีคลาวด์ในภาคอุตสาหกรรม

              คลาวด์ (Cloud) หรือระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีคุณสมบัติสำคัญในการที่สามารถขยายระบบได้อย่างไม่จำกัด (Scale-up) และมีเสถียรภาพสูงกว่าระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดยในด้านการคาดการณ์แนวโน้มความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในสายงานผลิต (Security and Risk Reduction) จากการเก็บข้อมูลวิเคราะห์ด้วยวิธีเดิม และทำการเตือนเมื่อเกิดความเสียหายนั้น สายการผลิตที่เสียหายจะต้องหยุดชะงักก่อนเพื่อทำการซ่อมแซม หากแต่ข้อมูลนั้นอยู่บนระบบคลาวด์ที่มีบริการวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในการคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายต่อสายงานผลิต จะสามารถทำการบำรุงรักษาก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้น เป็นการป้องกันความเสียหายได้อย่างตรงจุด

              ในด้านการเพิ่มผลผลิต (Operational efficiency) ผู้ให้บริการระบบคลาวด์หลายรายมีการให้บริการที่หลากหลายในการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น การจดจำรูปแบบของเสียง (Voice Recognition), การประมวลผลรูปภาพ(Image Processing), เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ซึ่งบริการที่กล่าวมานี้ สามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

              ในด้านต้นทุน (Operating Cost) ระบบคลาวด์สามารถลดต้นทุนในด้านโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ (IT Infrastructure) จากเดิมที่ต้องมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมหาศาลเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในด้านต่างๆ  รวมถึงเวลาที่เสียไปจำนวนมากในการบำรุงรักษาด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และต้นทุนในการปรับแต่ง (Patch) ระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ระบบคลาวด์ยังมีบริการในการคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพต่อราคาดีกว่าการสร้างระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นเองในองค์กร ทั้งนี้ระบบคลาวด์ยังมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่พร้อมใช้งาน ให้สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมของระบบงาน และโครงสร้างเครือข่าย (Network Infrastructure) ประสิทธิภาพสูง ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว หมดปัญหาความล่าช้า และติดขัดในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่าย

การเปลี่ยนผ่านจากเครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลไปใช้บริการคลาวด์

              แนวคิดในการเปลี่ยนผ่านระบบคอมพิวเตอร์แบบเดิม ไปใช้บริการระบบคลาวด์ ต้องเริ่มจากการวางแผน โดยมีการวางกลยุทธ์ที่มีความเหมาะกับสภาพแวดล้อมของระบบคอมพิวเตอร์ในอุตสาหกรรมที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น

  1. Retain & Retire: การพิจารณาความเหมาะสมของแอปพลิเคชัน (Application) หรือโปรแกรม (Software) หากแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรม (Software) ที่ใช้งานอยู่ มีความเฉพาะเจาะจง (Legacy System) และต้องติดตั้งบนเครื่องจักรที่มีอยู่เดิม ให้คงไว้จนกว่าจะยกเลิกการใช้งาน หรือแอปพลิเคชันนั้นด้วยแอปพลิเคชันใหม่
  2. Relocate & Rehosting: ในกรณีที่แอปพลิเคชัน หรือโปรแกรม มีความพร้อมในการย้าย เช่น แอปพลิเคชันหรือโปรแกรม ที่ใช้งานอยู่ในรูปแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนเดิม ที่สามารถทำการติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Visual Machine) บนระบบคลาวด์ ให้วางแผนในการย้ายเป็นลำดับแรก
  3. Refactoring: ในกรณีที่เป็นแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรม ใหม่ที่ไม่ได้มีการติดตั้งบนระบบเดิม สามารถวางแผนการย้ายได้ทันที โดยมีการออกแบบให้สามารถใช้งานบนระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  4. Repurchasing: ในกรณีที่เป็นแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรม ที่ใช้งานในระบบเดิมยกเลิกการสนับสนุนบริการ (End-Of-Life) ให้วางแผนในการซื้อบริการแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรม บนระบบคลาวด์ (SaaS: Software as a Service) โดยซื้อบริการในรูปแบบรายครั้ง รายเดือน รายปี หรือไลเซนต์ (Licensing) เพื่อให้สามารถใช้บริการแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมที่มีความทันสมัยอยู่เสมอ

              ในการเปลี่ยนผ่านจากระบบเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดิมไปใช้บริการคลาวด์ ควรจะมีผู้เชี่ยวชาญของผู้ให้บริการระบบคลาวด์นั้นๆ เป็นผู้ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ในการวางแผนและย่นระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น

ภาคอุตสาหกรรมในโลกอนาคตกับคลาวด์

              จากการสำรวจภาคอุตสาหกรรมของบริษัทจำนวน 800 บริษัท ในประเทศในแถบยุโรป และอเมริกาเหนือ ในปี 2020/2021 พบว่า เกือบ 2 ใน 3 ของบริษัทที่ทำการสำรวจได้มีการใช้ระบบคลาวด์ในการประกอบธุรกิจ ในภาคอุตสาหกรรม โดยให้ความสำคัญกับเครื่องมือ หรือบริการต่างๆที่มีบนระบบคลาวด์ ที่สามารถตอบโจทย์ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในแต่ละราย ซึ่งเครื่องมือ หรือบริการเหล่านี้ ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องที่จะตอบสนองความต้องการในด้านใช้งาน และต้นทุนต่อไปในอนาคต ซึ่งมองว่าในอนาคตจะมีผู้สนใจใช้งานในระบบคลาวด์มากขึ้น เนื่องจากต้นทุนที่ต่ำลง ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และสามารถเข้าถึงได้ง่าย

              การเปลี่ยนผ่านจะสำเร็จได้จากการกำหนดเป้าหมาย และขอบเขตที่ชัดเจนของผู้ประกอบการ และความร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในองค์กร ซึ่งนับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในโลกอุตสาหกรรม

              ดังนั้นจุดเริ่มต้นของผู้ที่สนใจ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงองค์กรในภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ อาจจะเริ่มจากการมองหาผู้ให้บริการคลาวด์ ที่มีความเชี่ยวชาญ และสามารถให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนให้การเปลี่ยนผ่านสามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่น

              ซึ่งทาง AIS Business หนึ่งในองค์กรที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) ด้วยกลยุทธ์ทางด้าน Digital Infrastructure และ Platform ที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มดิจิทัลจากการทำงานต่อเนื่องร่วมกับพาร์ตเนอร์ระดับโลก ทำให้แพลตฟอร์มมีความยืดหยุ่น (Resilience) สามารถรองรับความต้องการธุรกิจได้หลากหลาย และเลือกนำเทคโนโลยีต่างๆไปใช้งานตามที่ต้องการด้วยประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ AIS สามารถขยายผลการให้บริการลูกค้าองค์กรในด้าน CCII อันได้แก่ โซลูชันคลาวด์ (Cloud) บริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) บริการ IoT (Internet of Things) และบริการด้านไอซีทีโซลูชัน (ICT Solution) จึงสามารถตอบโจทย์ในทุกด้านของลูกค้าองค์กร เพื่อก้าวสู่การใช้งานคลาวด์ในภาคอุตสาหกรรม

              AIS Business พร้อมให้คำปรึกษาบริการ Cloud อย่างครบวงจร โดยล่าสุดได้เปิดตัว “AIS Cloud X” ระบบนิเวศคลาวด์อัจฉริยะ (Intelligent Cloud Ecosystem) ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการคลาวด์ได้อย่างยืดหยุ่น รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบอย่างไร้รอยต่อ (Flexible Cloud Deployment) ผสานการทำงานกับเครือข่าย 5G, Edge Computing, Multi-Cloud พร้อมแพลตฟอร์ม Cloud Native ที่จะรองรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน ภายใต้แนวคิดการเขียนโค้ดอย่างรวดเร็วตามกฏความปลอดภัย (DevSecOps) และคอนเทนเนอร์ (Container) พร้อมบริการที่ช่วยจัดการข้อมูล ทั้งการจัดเก็บ การประมวลผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อป้องกันด้านความปลอดภัย และการใช้งานข้อมูลเพื่อธุรกิจ (Data Driven Business) ตลอดจนระบบสำรองกู้คืนข้อมูลที่รองรับระบบคลาวด์ที่กระจายตัว (Hybrid Cloud Environment) และข้อมูลแอปพลิเคชันที่อยู่ในรูปแบบ Cloud Native หรือคอนเทนเนอร์ (Container) รวมถึงการทำงานร่วมกับ VMware ในการเป็นพาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการ Sovereign Cloud รายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการเก็บข้อมูลในประเทศ จึงพร้อมเป็นผู้ช่วยในการทรานส์ฟอร์มองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีบริการเทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายครบวงจร สะดวกง่ายและจบได้ในหนึ่งเดียว โดยทีมงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สนใจเทคโนโลยีคลาวด์ศึกษารายละเอียดได้ที่ https://www.ais.th/business/enterprise/technology-and-solution/cloud-and-data-center

วันที่เผยแพร่ 22 ตุลาคม 2565

Reference

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที